ความเป็นมาของข้อพิพาททะเลจีนใต้ (1)
  2016-06-10 10:39:12  cri

หลายปีมานี้ ปัญหาทะเลจีนใต้นับวัน กลายเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดในความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ ทั้งสองฝ่ายสาดกันด้วยคารมผ่านโอกาสทางการทูตต่างๆ หรือสื่อมวลชนมาตลาด รวมทั้งมีการกระแทกกระทั้นกันทางทหารบ้าง ทั้งสองฝ่ายดูเหมือนกำลังประลองกำลังจากปัญหาทะเลจีนใต้ และต่างฝ่ายต่างประเมินยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงกันข้ามอีกครั้ง

ข้อขัดแย้งล่าสุดระหว่างจีน-สหรัฐฯในทะเลจีนใต้อยู่ที่ประเด็น"การเคลื่อนไหวทางการทหารในทะเลจีนใต้" และ"ปฏิบัติการที่อ้างเสรีภาพในการเดินเรือ" ต่อข้อขัดแย้งดังกล่าว มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนบางส่วนของทั้งสองประเทศว่า ต้องใช้กำลังทหารในการแก้ไขข้อขัดแย้ง

จากสภาพการณ์ที่กล่าวมานี้เห็นได้ชัดว่า จีนและสหรัฐฯขาดความเชื่อถือขาดความไว้วางใจกันทางยุทธศาสตร์ ความไม่พอใจต่ออีกฝ่ายหนึ่งกำลังแผ่ขยายในสังคมของทั้งสองประเทศ นักวิชาการสหรัฐฯหลายคนแสดงความกังวลว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนนับวันเข้าสู่สถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ จากนี้จะเห็นได้ว่า ปัญหาทะเลจีนใต้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯตกอยู่ในภาวะยากลำบาก

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดสถานการณ์ทะเลจีนใต้ในขณะนี้ จีนและสหรัฐฯมีความเห็นที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ชาวจีนส่วนใหญ่เห็นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปัญหาทะเลจีนใต้นับวันมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นก็คือ สหรัฐฯดำเนินยุทธศาสตร์ "สร้างความสมดุลอีกครั้งในเอเชีย-แปซิฟิก" เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นคู่กรณี จนกระทั่งเข้ามาแทรกแซงข้อพิพาทดังกล่าวโดยตรง แต่ด้านสหรัฐฯกลับเห็นว่า จีนไม่เคารพกฎหมายระหว่างประเทศ ข่มขู่จะใช้กำลังอาวุธในทะเลจีนใต้ มีเจตนาที่จะลดบทบาทของสหรัฐฯ และครองทะเลจีนใต้ทั้งหมดด้วยรูปแบบที่มีลักษณะคล้ายการตัดไส้กรอก สุดท้าย ทะเลจีนใต้ก็จะกลายเป็นทะเลสาบในของจีน

จริงๆ แล้ว ปัญหาทะเลจีนใต้เป็นข้อพิพาทระหว่างจีนกับบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเวียดนาม ฟิลิปปินส์ เป็นปัญหาที่ตกค้างจากประวัติศาสตร์ ข้อขัดแย้งหลักๆ ระหว่างจีนกับประเทศเหล่านี้คือ อธิปไตย และสิทธิประโยชน์เหนือเกาะแก่งบางส่วนของหมู่เกาะหนานซาในทะเลจีนใต้ ประวัติศาสตร์ยุคใกล้ และประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สร้างข้อขัดแย้งสารพัดอย่างให้กับประเทศจำนวนมากในทวีปเอเชีย และแอฟริกา ปัญหาทะเลจีนใต้ก็เป็นหนึ่งในข้อขัดแย้งเหล่านี้

การสำรวจพบทรัพยากรน้ำมันปิโตรเลียมที่อุดมสมบูรณ์ในน่านน้ำหมู่เกาะหนานซาเมื่อทศวรรษที่ 1960 และการประกาศใช้ อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (United National Convention on the Law of the Sea: UNCLOS) ทำให้ข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในเกาะแก่งมีนัยใหม่ หลังจากนั้น สิ่งที่ได้รับความสนใจมากกว่าคือ การปักปันอาณาเขตน่านน้ำทะเล อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลายาวนานที่ผ่านมา ปัญหาทะเลจีนใต้เป็นเพียงปัญหาระดับภูมิภาค และสามารถควบคุมได้ ยกตัวอย่างเช่น ช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-อาเซียนนับได้ว่าเป็นช่วงยุคทอง ในช่วงเวลานี้ ความร่วมมือด้านต่างๆ พัฒนาอย่างรวดเร็ว ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมีความแน่นแฟ้นมาก ยอดการค้าระหว่างจีน-อาเซียนช่วงปี 1991 ถึงปี 2010 เพิ่มขึ้น จาก 8,000 ล้านดอลล่าสหรัฐเป็น 3 แสนล้านดอลล่าสหรัฐฯ เติบโต 37 เท่า ในช่วงเวลาเดียวกัน เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจของประเทศอาเซียนส่วนใหญ่ก็ขยายตัวมากกว่า 5 เท่า

(IN/cai)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
外交
v ผู้เชี่ยวชาญกล่าวถึงคดีข้อพิพาททางทะเลจีนใต้ว่า ฟิลิปปินส์มองข้ามกฎหมาย ส่วนศาลอนุญาโตตุลาการก็ใช้อำนาจเกินขอบเขต 2016-06-10 12:53:09
v ความเป็นมาของข้อพิพาททะเลจีนใต้ (1) 2016-06-10 10:39:12
v สมาคมทนายความแห่งชาติจีนประกาศแถลงจุดยืนของจีนในคดีพิพาทปัญหาทะเลจีนใต้ที่ฟิลิปปินส์เสนอโดยลำพังฝ่ายเดียว 2016-06-08 16:52:16
v จีนประกาศคำแถลงเกี่ยวกับการที่ฟิลิปปินส์ยื่นปัญหาทะเลหนานไห่ต่อศาลระหว่างประเทศโดยลำพังฝ่ายเดียว 2016-05-31 16:59:03
v ฟิลิปปินส์มองข้ามกฎหมายและปิดบังธาตุแท้ 2016-05-30 16:06:51
社会
v ความเป็นมาของข้อพิพาททะเลจีนใต้ (2) 2016-06-10 10:40:46
v มณฑลหูหนานกับเส้นทางสายไหมทางทะเล (2) 2016-04-25 09:56:16
v มณฑลหูหนานกับเส้นทางสายไหมทางทะเล (1) 2016-04-25 09:54:07
v เศรษฐกิจจีนจะไม่เผชิญกับภาวะฮาร์ดแลนดิ้ง(2) 2016-03-28 10:39:12
v เศรษฐกิจจีนจะไม่เผชิญกับภาวะฮาร์ดแลนดิ้ง(1) 2016-03-28 10:36:46
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040