เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลหนานไห่ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (5) a
  2016-09-28 09:44:05  cri

เดือนเมษายน ค.ศ. 2012 เกิดเหตุกองทัพเรือฟิลิปปินส์จัมกุมชาวประมงจีนที่ทำการประมงที่น่านน้ำบริวารเกาะหวงเหยียน กล่าวได้ว่า เหตุครั้งนี้เป็นเหมือนฟางเส้นสุดท้าย เพราะได้กระทบถึงขีดต่ำสุด( bottom-line) ทั้งทางนโยบายและความอดทนของจีน

ความเป็นมาของเหตุการณ์ครั้งนี้คือ วันที่ 10 เมษายนค.ศ. 2012 เรือรบฟิลิปปินส์แล่นเข้ามาก่อกวน และปิดล้อมเรือประมงจีน 12 ลำที่กำลังทำประมงบริเวณแอ่งน้ำในเกาะหวงเหยียน ซ้ำยังบุกขึ้นเรือประมงลำหนึ่ง และจับกุมชาวประมงบนเรือลำนั้น ชาวประมงจีนถูกทหารฟิลิปปินส์จับถอดเสื้อท่ามกลางแดดจัดบนดาดฟ้าเรือ ภาพถ่ายนี้ถูกสื่อมวลชนจีนแทบทุกสำนักนำมาเผยแพร่ ทำให้ชาวจีนทั่วประเทศเกิดความไม่พอใจและวิพากษ์วิจารณ์ทหารฟิลิปปินส์อย่างมาก

การใช้ปฏิบัติการหยาบคายท้าทายจีนของฟิลิปปินส์และเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากชาวจีนทั่วประเทศบังคับให้รัฐบาลจีนต้องใช้ปฏิบัติการตอบโต้ โดยด้านหนึ่งได้ทำการประท้วงทางการทูตต่อทางการฟิลิปปินส์ทันที อีกด้านหนึ่ง ส่งเรือตรวจการณ์ทางทะเลและเรือดูแลการประมงไปยังน่านน้ำที่เกิดเหตุทันที ต่อมา เรือของสองประเทศเผชิญหน้ากันที่น่านน้ำบริวารเกาะหวงเหยียนเป็นเวลานานเกือบสองเดือน สุดท้าย วันที่ 3 มิถุนายน เรือฟิลิปปินส์ทั้งหมดต้องถอนออกจากบริเวณน่านน้ำที่เกิดเหตุ ส่วนเรือจีนยังคงลาดตระเวนบริเวณนั้น และควบคุมน่านน้ำบริวารเกาะหวงเหย็นโดยแท้จริง เพื่อป้องกันการท้าทายครั้งใหม่ของฟิลิปปินส์

ช่วงเวลาเดียวกัน เวียดนามก็มีการเคลื่อนไหวบ้าง วันที่ 21 มิถุนายน รัฐสภาเวียดนามผ่านร่างกฎหมายทะเล เพื่อทำให้ข้อเรียกร้องของเวียดนามในกรรมสิทธิ์บนเกาะแก่งบางส่วนในทะเลหนานไห่มีความชอบธรรมด้วยวิธีการบัญญัติกฎหมายภายในประเทศ วันเดียวกันกับที่รัฐสภาเวียดนามผ่านกฎหมายฉบับดังกล่าว นายจาง จื้อจูน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนเรียกเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศจีนเข้าพบ เพื่อทักท้วงเหตุดังกล่าว พร้อมกันนั้น จีนได้ประกาศตั้งเมืองซานซา และตั้งสำนักงานการปกครองเมืองซานซาบนเกาะหย่งซิง ในหมู่เกาะซีซา ซึ่งเมืองซานซาครอบคลุมเกาะแก่งและน่านน้ำบริวารของหมู่เกาะซีซา ต่อมาเป็นเวลาหลายเดือน จีนได้ตั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของเมืองซานซา เช่น หน่วยงานบริหาร ตุลาการ และการทหาร

วันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2013 ฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนในข้อพิพาททะเลหนานไห่ ต่อการนี้ กระทรวงการต่างประเทศจีนออกแถลงการณ์หลายครั้งว่า คดีฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนในข้อพิพาททะเลหนานไห่นั้นเกี่ยวพันถึงอธิปไตยเหนือดินแดน และการปักปันเขตแดนทางทะเล ฟิลิปปินส์จึงไม่มีสิทธิ์ยื่นฟ้อง และศาลไม่มีอำนาจที่จะตัดสิน เพราะก่อนหน้านั้นจีนเคยออกแถลงการณ์ตามข้อ 298 ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลว่า สิ่งที่เกี่ยวข้องกับอธิปไตย การปักปันเขตแดนทางทะเล และสิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นจะไม่ให้ฝ่ายที่สามเป็นผู้ตัดสิน แต่ฟิลิปปินส์ไม่ยอมพิจารณาเหตุผลของจีน ยังคงพยายามหาทางเลี่ยงแถลงการณ์ดังกล่าวของจีน เพราะมีเจตนาร้ายแฝงอยู่ ด้วยสาเหตุนี้ จีนจึงแสดงท่าทีชัดเจนว่า ไม่รับ ไม่ร่วมการดำเนินคดีดังกล่าว

ฟิลิปปินส์อ้างว่า การยื่นฟ้องจีนนั้น เป็นเพราะว่าการปรึกษาหารือ และเจรจากับจีนในข้อพิพาททะเลหนานไห่ไม่มีทางออกแล้ว แต่ข้อเท็จจริงคือ หลังเกิดเหตุการณ์ทหารฟิลิปปินส์จับกุมชาวประมงจีนที่เกาะหวงเหยียน ฟิลิปปินส์ปฏิเสธที่จะพูดคุยกับจีนมาโดยตลอด ส่วนการเจรจากับจีน ยิ่งไม่ต้องพูดถึง นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ก็ไม่ได้ปรึกษาหารือกับภาคีอื่นของปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติในทะเลหนานไห่

ต่อมา เกิดอีกสองเหตุการณ์ ทำให้สถานการณ์ทรุดหนักลงอีก เหตุการณ์แรกคือ เรือฟิลิปปินส์และจีนเผชิญหน้ากันที่แนวหินโสโครก เหรินไอ้ เรือยกพลขึ้นบกลำหนึ่งของฟิลิปปินส์ที่อ้างว่าเกยตื้นอยู่ที่น่านน้ำบริวารแนวหินโสโครกเหรินไอ้ตั้งแต่ค.ศ. 1999 ซึ่งผ่ามาเป็นเวลาหลายปีแล้วเสี่ยงอันตรายที่จะพังทลาย ทางการฟิลิปปินส์จึงพยายามหาโอกาสทำการก่อสร้างบนแนวหินโสโครกดังกล่าว เพื่อยึดครองแนวหินโสโครก เหรินไอ้ไว้เป็นของตน ขณะจีนเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดโดยตลอด เพื่อป้องกันไม่ให้ฟิลิปปินส์ทำการก่อสร้างบนแนวหินโสโครกดังกล่าว เดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 เรือรบฟิลิปปินส์ที่ลำเลียงวัสดุก่อสร้างมุ่งมายังน่านน้ำบริวารแนวหินโสโครกเหรินไอ้ เรือของรัฐบาลจีนแล่นเข้าไปขวางทันที ไม่ให้เรือรบฟิลปินส์เข้าใกล้แนวหินโสโครกเหรินไอ้ หลังเกิดเหตุ ฟิลิปปินส์พยายามประโคมข่าวเหตุการณ์ครั้งนี้ เพื่อยังความสนใจของประชาคมโลก และดึงสหรัฐฯเข้ามาแทรกแซง

อีกเหตุการณ์หนึ่งคือ ระหว่างวันที่ 2พฤษภาคมถึงวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.2014 จีนขุดเจาะแก๊สธรรมชาติและน้ำมันปิโตเลียมที่แท่นขุดเจาะแก๊สธรรมชาติและน้ำมันปิโตเลียม 981 ในเขตต่อเนื่อง (Contiguous Zone)ของหมู่เกาะซีซา ห่างไปทางทิศใต้ของเกาะ จงเจี้ยน ประมาณ 17 ไมล์ทะเล ช่วงเวลาดังกล่าว เรือนับร้อยลำของรัฐบาลเวียดนามแล่นเข้ามาก่อกวน ทำให้เกิดเหตุเรือยามฝั่งจีนและเรือเวียดนามขับไล่กัน และชนกันหลายๆ ครั้ง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
外交
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลหนานไห่ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (5)b 2016-09-28 09:46:11
v สถานการณ์ทะเลหนานไห่ในช่วง 10 ปีหลังทำปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (4b) 2016-09-05 16:12:55
v สถานการณ์ทะเลหนานไห่ในช่วง 10 ปีหลังทำปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (4a) 2016-09-05 16:08:59
v การประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงว่าด้วยการปฏิบัติตาม "ปฏิญญาแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้"ระหว่างจีนกับอาเซียนประสบผลสำเร็จ 2016-08-17 14:58:25
v จัดการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงว่าด้วยการปฏิบัติตาม "ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้" ที่เมืองหมั่นโจวหลี่ของจีน 2016-08-17 14:02:07
社会
v เบื้องหลังสถานการณ์ทะเลหนานไห่ที่ทวีความตึงเครียดขึ้น (5)b 2016-09-28 09:46:11
v ความเป็นมาของข้อพิพาททะเลจีนใต้ (2) 2016-06-10 10:40:46
v ความเป็นมาของข้อพิพาททะเลจีนใต้ (1) 2016-06-10 10:39:12
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040