เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ฮ่องกงรายงานว่า สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยูซอฟ อิสฮะก์ (Yusof Ishak) ศึกษาของสิงคโปร์สำรวจชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 318 คน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ 10 ประเทศอาเซียน นักวิชาการ นักธุรกิจ ผู้สื่อข่าว ตลอดจนชาวบ้านทั่วไป ปรากฏว่า กว่า 70% เห็นว่า เนื่องจากรัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ มีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับประเทศอาเซียนน้อยลง ชื่อเสียงของวอชิงตันในเขตนี้ก้ลดลง ทำให้กรุงปักกิ่งกับอาเซียนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
เพียง 3% เห็นว่า ในปัจจุบันหรืออีก 10 ปีข้างหน้า สหรัฐฯ จะเป็นประเทศที่มีอิทธิพลมากที่สุดในภูภาคนี้ แต่ 75% เห็นว่า จีนเป็นประเทศสำคัญที่สุดของอาเซียน จะเพิ่มขึ้นต่อไปในอีก 10 ปีข้างหน้า นอกจากนั้น 65% เห็นว่า ไม่ควรอาศัยสหรัฐฯ ในด้านการรพิทักษ์การค้าเสรี สิทธิมนุษยชนและกฎหมายระหว่างประเทศ
นายสวี่ ลี่ผิงผู้เชี่ยวชาญเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สภาสังคมศาสตร์แห่งชาติจีนเห็นว่า แม้วปีหลังๆ นี้ จีนพยายามส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่กรุงปักกิ่งไม่ควรหวังสร้างอิทธิพลของตนในเขตนี้เกินความจริง เพราะประเทศอาเซียนบางประเทศยังคงหวังให้สหรัฐฯ เข้ามาก้าวก่ายกิจการในภูมิภาค เพื่อยับยั้งอิทธิพลของจีน
อย่างไรก็ตาม กรุงปักกิ่งยังคงใช้ความพยายามในการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศอาเซียนอย่างที่แล้วมา สื่อมวลนอังกฤษรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูเหมือนมีโชคดีมากขึ้น ความเร็วในการเติบโตของเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยับขึ้นเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย ส่วนมาเลเซียก็มีตัวเลขการเติบโตที่น่าจับตาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยมาถึงจุดที่ดีที่สุดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศเหล่านี้ ล้วนได้รับพลังขับเคลื่อนจากจีน ความแข้งแกร่งของเศรษฐกิจจีนกำลังชดเชยจุดอ่อนของภูมิภาคเอเชีย
(In/Lin)