|
|
|
|
|||||||||||
ที่สวนลุมพีนี ซึ่งเป็นสวนสาธารณะใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ มี "ศาลามิตรภาพจีน-ไทย" หลังหนึ่ง ร่วมกันวางแผนก่อสร้างโดยกรุงปักกิ่งและกรุงเทพฯ การสร้างแล้วเสร็จของศาลามิตรภาพจีน-ไทยเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่ามิตรสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทย โดยเฉพาะของปักกิ่ง-กรุงเทพฯ เมืองหลวงของ 2 ประเทศ ยิ่งพัฒนายาวนานก็จะยิ่งมีความสดใหม่มากขึ้น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ.1993 ปักกิ่งกับกรุงเทพฯ ได้สถาปนาความสัมพันธ์เป็นเมืองพี่เมืองน้อง เป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการพัฒนามิตรภาพระหว่างเมืองหลวง 2 ประเทศ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ความร่วมมือในทั่วทุกด้านระหว่างจีนกับไทย เช่น ด้านเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรม การศึกษาและกีฬา เป็นต้น ต่างได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างมีเสถียรภาพ ความสัมพันธ์ฉันมิตรปักกิ่ง-กรุงเทพฯ ก็ได้เดินหน้าอย่างรอบด้านเช่นกัน วันนี้(วันอังคารที่ 28 พฤษภาคมปี 2013) เว็บไซต์ CRI Online ของสถานีวิทยุซีอาร์ไอเรียนเชิญผู้บริหารของกรุงปักกิ่งและกรุงเทพฯ มาร่วมกันเสวนา เพื่อนำเสนอเรื่องราวด้านความรักความผูกพันระหว่างเมืองพี่เมืองน้องอันยาวนานถึง 20 ปี มองถึงอนาคตอันสดใส และการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว |
นายซ่งอี่ว์ รองเลขาธิการหน่วยพรรคคอมมิวนิสต์และรองผู้อำนวยการคณะกรรมการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยงแห่งกรุงปักกิ่ง |
ประวัติย่อ: นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร |
ประวัติย่อ: นายสุวพร เจิมรังษี รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว |
ปักกิ่ง |
กรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของจีน และเป็น 1 ใน 4 เมืองหลวงโบราณของจีน ประวัติศาสตร์ของเมืองมีกว่า 3,000 ปี และประวัติศาสตร์ที่เป็นเมืองมี 778 ปี (รายละเอียด) |
กรุงเทพฯ |
กรุงเทพฯ เมืองหลวงของราชอาณาจักรไทย ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ กรุงเทพฯ มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น หรือเขตร้อน มีดอกไม้นานาพันธุ์ (รายละเอียด) |
สภาพความร่วมมือฉันมิตรและการแลกเปลี่ยนระหว่างกรุงปักกิ่งและกรุงเทพฯ |
สภาพความร่วมมือฉันมิตรและการแลกเปลี่ยนระหว่างกรุงปักกิ่งและกรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 1993 ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนำคณะผู้แทนมาเยือนกรุงปักกิ่ง และได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการผูกกรุงเทพฯและกรุงปักกิ่งให้เป็นเมืองพี่เมืองน้อง ซึ่งนับเป็นเมืองพี่เมืองน้องคู่แรกระหว่างจีน-ไทย ช่วงเวลา 20 ปีนับตั้งแต่ปักกิ่งและกรุงเทพฯเริ่มผูกสัมพันธ์เป็นเมืองพี่เมืองน้องมาจนถึงปัจจุบัน (รายละเอียด) |
การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกับการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมวิถีชน |
มรดกวัฒนธรรมวิถีชนเป็นทรัพย์สมบัติล้ำค่าทางจิตใจที่สืบทอดผ่านประวัติศาสตร์ หลายปีมานี้ การเที่ยวชมเพื่อสัมผัสมรดกวัฒนธรรมวิถีชนกลายเป็นรายการที่ได้รับความนิยมระดับสูงและก่อให้เกิดแนวโน้มใหม่ด้านการท่องเที่ยว เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า กรุงเทพฯ ได้ครอบครองมรดกวัฒนธรรมวิถีชนที่มีเอกลักษณ์มากมาย เช่น การนวดแผนไทย อาหารไทย ฯลฯ ขณะเดียวกัน กรุงปักกิ่งก็มีมรดกวัฒนธรรมวิถีชนอันหลายหลาย อาทิ งิ้วปักกิ่ง งานวัด ศิลปะการแสดงเทียนเฉียว กลองไท่ผิง แพทย์แผนจีนและยาสมุนไพรโถงเหรินถาง เป็นต้น เกี่ยวกับประเด็นสืบทอดและส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมวิถีชนซึ่งยังมีลมหายใจอยู่นี้ ทั้งปักกิ่งและกรุงเทพฯ ได้เผชิญกับความยากลำบากและอุปสรรคอะไรบ้าง ขอเรียนเชิญแขกผู้มีเกียรติทั้ง 2 ท่านอธิบายให้พวกเราได้รับทราบ การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวย่อมเป็นขั้นต้อนสำคัญยิ่งในด้านท่องเที่ยว เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าควรบุกเบิกและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว และสร้างสรรค์การท่องเที่ยวอย่างไร เชิญรับฟังความคิดเห็นของแขกผู้มีเกียรติจากเมืองหลวงทั้ง 2 แห่ง |
การบริหารการท่องเที่ยวและการรับมือกับวิกฤตด้านการท่องเที่ยว |
ผู้ที่เคยไปเที่ยวกรุงเทพฯ ก็คงรู้ชื่อ "ตลาดร่มหุบ" ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "ตลาดสุดระทึก" นับเป็นทิวทัศน์ที่น่าอัศจรรย์ของประเทศไทย เพราะเป็น "ตลาดที่ตั้งขึ้นบนรางรถไฟแห่งเดียว" ของโลก แต่ละวันจะมีรถไฟ 8 ขบวนแล่นผ่านรางที่ตั้ง ทำให้ตลาดนี้กลายเป็นตลาดที่ได้ชื่อว่าเสี่ยงอันตรายที่สุดของโลก และดึงดูดนักท่องเที่ยวนานาชาติเดินทางมาเที่ยวชม ตลาดร่มหุบสะท้อนให้เห็นถึงข้อขัดแย้งระหว่างการสร้างสรรค์ความเป็นเมืองกับการอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยว ลองมารับฟังความคิดเห็นต่อข้อขัดแย้งนี้ของแขกผู้มีเกียรติ เพื่อแย่งชิงเอกสารมอบหมายอำนาจ และควบคุมราชอาณาจักรทางพาณิชยกรรมของตน ผู้ร่วมงาน 2 คนที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขมา เปลี่ยนหน้าเป็นศัตรู และออกเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อหาเถ้าแก่ใหญ่และข้อเอกสารมอบหมายอำนาจ คู่แข่งคู่นี้จึงเริ่มผจญกับการเดินทางที่ตกระกำลำบากทั้งใจและกายในเมืองไทย โครงเรื่องที่ตลกขบขันในภาพยนตร์เรื่อง "ไท่จ่ง" ซึ่งฉายในประเทศจีนเมื่อต้นปี 2013 แสดงให้เห็นถึงการเผชิญกับความยากลำบากในระหว่างการท่องเที่ยวในต่างประเทศ ควรป้องกัน รับมือและจัดการเหตุการณ์และวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันอย่างไร เชื่อว่าแขกผู้มีเกียรติทั้ง 2 ท่านย่อมมี คำแนะนำดีๆ มาฝากพวกเราแน่นอน |
จีนเป็นเมืองแห่งอารยธรรมตั้งแต่โบราณกาล เรามีคำโบราณที่ว่า "หลี่ซ่างหว่างไหล" แปลงว่า ได้รับของดีจากเพื่อนก็จะมอบของดีให้เขาด้วย ในกิจกรรม "การแลกเปลี่ยนระหว่างเมืองหลวงกรุงปักกิ่ง – กรุงเทพฯ ปี 2013" ฝ่ายจัดงานมีการกำหนดขั้นตอนการแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะ โดยแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานครั้งนี้ จะนำเอาของขวัญพื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประเทศตนมอบให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อส่งเสริมมิตรภาพและเพิ่มความประทับใจแก่กัน ลำดับต่อไป แขกผู้มีเกียรติจากเมืองหลวงโบราณตะวันออกทั้งสองคือ ปักกิ่งและกรุงเทพฯ จะมอบของขวัญที่มีคุณค่าอะไรบ้างแก่อีกฝ่ายหนึ่ง |
บทความ |
สื่อสนับสนุน |
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved. 16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040 |