ความวุ่นวายด้านการเมืองในเอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือทำให้สื่อมวลชนประเทศตะวันตกเริ่มสนใจประเทศตะวันออก โดยมีผู้เห็นว่า กระแสการแสวงหาประชาธิปไตยที่ว่านี้ จะกระทบถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเป็นปริเวณที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก สำหรับเรื่องนี้ ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่ศึกษาวิจัยปัญหาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายคน พวกเขาต่างเห็นว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะไม่เกิดความวุ่นวายแบบที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ
เมื่อเทียบกับเอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา ทุกคนยุ่งกับงานของตนเอง และมีฐานะในสังคม แต่ละประเทศก็มีฐานะของตนในกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ อาทิ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียต่างมีพลังดึงดูดทุนต่างชาติมากขึ้น
อันที่จริง ระบอบของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ใช่จะสมบูรณ์แบบซะทีเดียว และในโลกนี้ ไม่มีระบอบใดมีความสมบูรณ์เต็มร้อย ภายใต้โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ ระบบลัทธิทุนนิยมที่ได้ชื่อว่าเป็น "ระบบสุดท้ายในประวัติศาสตร์" ก็ต้องมีการปรับปรุงหรือปฏิรูป ระบบของเอเชียตะวันออกก็มักจะได้รับการวิจารณ์เนื่องจากมีการทุจริด ความไม่สมบูรณ์ด้านกฏหมาย เป็นต้น แต่โดยทั่วไปแล้ว เป็นระบบที่ยอมรับได้ อย่างน้อย ผู้คนต่างเห็นว่า ควรแก้ปัญหาบางอย่างในระบบปัจจุบัน ถึงจะมีการเดินขบวน ก็แค่เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงระบบเท่านั้น ไม่ใช่จะโค่นล้มระบบนี้ นี่เป็นความแตกต่างที่แท้จริงระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับเอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ
นอกจากนี้ จากการสังเกตุการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังต้องตระหนักถึงสภาพความเป็นหนึ่งเดียวกันด้านเศรษฐกิจของเอเชียตะวันเฉียงใต้ด้วย ปัจจุบัน อาเซียนและจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือ "10+3" ได้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจโลก การพัฒนาเป็นเป้าหมายอันดับแรกของประเทศอาเซียน ความร่วมมือและการแข่งขันระหว่างประเทศอาเซียน ทำให้มีการปฏิรูป และกระทบถึงการเมืองของกันและกันมากขึ้น
In/Ldan