ไประเทศไทยสนใจความร่วมมือ ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับจีน

       การประชุมครั้งที่ 18 ของคณะกรรมการผสมทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีไทยจีนได้จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ
ประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์เป็นต้น รวมสิบกว่ากระทรวงของไทยต่างได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประ-
ชุม ทั้งสองฝ่ายตกลงจะดำเนินโครงการร่วมมือทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 44 โครงการใน 2 ปีข้างหน้า
เพื่อผลักดันกิจการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของทั้งสองประเทศ โดยให้สิทธิพิเศษแก่กัน อำนวยประโยชน์
แก่กัน พัฒนาร่วมกัน
        ประเทศไทยได้บุกเบิกและขยายการไปมาหาสู่และร่วมมือทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระหว่างประเทศ
อย่างแข็งขัน โดยเฉพาะให้ความสำคัญแก่การร่วมมือและไปมาหาสู่ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับจีนอย่าง
ยิ่ง มิเพียงแต่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ        สยามบรมราชกุมารี    ทรงสนพระทัยความร่วมมือทางวิทยา-
ศาสตร์เทคโนโลยีระหว่างไทยกับจีนเท่านั้น    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร.    ประวิทย์ คุณกิตติ    รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ทันทีที่ได้เข้ารับตำแหน่งในกระทรวง ก็มุ่งมั่นบุกเบิก
ขยายขอบเขตใหม่แห่งความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับจีน ตั้งแต่คณะกรรมการผสมทางวิทยา-

ศาสตร์เทคโนโลยีไทย-จีนจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1978 เป็นต้นมาไทย
ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับ
จีน 739 รายการ รวมทั้งการแลกเปลี่ยน อบรมทางบุคลากรการ
ร่วมมือค้นคว้าวิจัย       การจัดคณะดูงานเยี่ยมเยือนซึ่งกันและกัน
ซึ่งเกี่ยวพันถึง20 กว่าแขนงงาน
          ในปีที่แล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยกับสภา
วิทยาศาสตร์แห่งชาติประเทศจีนได้ลงนามในบันทึกความจำ
เพื่อความเข้าใจ    ตกลงดำเนินความร่วมมือในการวิจัยเกี่ยวกับ
เทคโนโลยีพลังงานชีวภาพ ดร.ประวิทย์    คุณกิตติ    รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ได้นำคณะเยือนจีนและเข้าร่วมการประชุมฟอรัมเศรษฐกิจ
ชีวภาพครั้งแรกที่จัดขึ้นที่ปักกิ่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ไทยให้ความ
สำคัญแก่การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
      รัฐบาลไทยได้ร่างกรอบนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ได้แก่แผน 8       ปีในการผลักดันการพัฒนาแขนงงานเทคโนโลยี
ชีวภาพ       ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพให้
ชัดเจน โดยจะ “สร้างเป็นศูนย์กลางชีววิทยาระดับโลก” และยัง
ได้เสนอที่จะสร้างประเทศไทยให้เป็น “ครัวของโลก” เป็น “ศูนย์
รักษาสุขภาพแห่งเอเชีย”         รัฐบาลไทยกำลังเพิ่มการลงทุนใน
แขนงงานเทคโนโลยีชีวภาพขึ้นทุกปีเพื่อการณ์นี้
          กิจการอิเล็กทรอนิกส์กับสารสนเทศ เป็นแขนงงานสำคัญ
อีกแขนงหนึ่งในการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของไทย
รัฐบาลไทยได้ประกาศใช้นโยบายสองประการ    ก็คือ ดำเนิน
การแยกการบริหารของรัฐออกจากรัฐวิสาหกิจและการแปรรูป
เป็นแบบเอกชน นำกลไกการแข่งขันเข้ามาและทำลายการผูก
ขาด       ดำเนินการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องในระบบการตลาดโทร-
คมนาคม พยายามสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสาห-
กรรมอิเล็กทรอนิกส์อุปโภคของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ กระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยยังได้ประกาศ “เค้าโครง
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยปี 2001-2010” โดย
ได้เสนอเป้าหมายที่จะมุ่งมั่นพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์    อุต-
สาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์          การค้าอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษา
อิเล็กทรอนิกส์ สังคมอิเล็กทรอนิกส์    และสร้างเป็นสังคมแบบ

ภูมิปัญญาในที่สุด
         ภัยพิบัติสึนามิอย่างร้ายแรงเมื่อปลายปี 2004 ได้เพิ่มจิต
สำนึกและการลงทุนในการป้องกันภัยและลดความเสียหายจาก
ภัยพิบัติด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของรัฐบาลไทยมาก หลัง
เกิดเหตุสึนามิซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อ 6 จังหวัดภาคใต้ของ
ไทย รัฐบาลไทยได้ลงมือจัดสร้าง “ศูนย์เตือนภัยแห่งชาติ” และ
“ระบบเตือนภัย”    ที่เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์เตือนภัยอย่างรวด-
เร็ว    โดยวางแผนจัดตั้งจุดเฝ้าติดตามเตือนภัยธรรมชาติมาตร-
ฐานสากล 62    จุดในทั่วประเทศ    จัดวางทุ่นลอยตรวจวัดเฝ้า
ระวังภัยสึนามิที่เขตทะเลหลวงชายฝั่งประเทศไทยเพื่อป้องกัน
ภัยธรรมชาติ
            ในด้านการลงทุนสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เทค-
โนโลยี    รัฐบาลไทยวางแผนจะเพิ่มสัดส่วนของงบประมาณการ
วิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีใน GDP ให้มากขึ้น ปัจจัยตามความ
เป็นจริงในปัจจุบัน       ทำให้การขยายการลงทุนในการวิจัยทาง
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี     การปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการ
พัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิผลของรัฐบาล
ไทยกำลังเผชิญหน้ากับการทดสอบ

ไทยจะกระชับความร่วมมือ
ทางลอจิสติกส์กับยูนนานของจีน

                 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หอการค้าไทย สมาคมจัด
การธุรกิจแห่งประเทศไทย(TMA)      หอการค้าจังหวัดเชียงราย
และหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจได้ร่วมกันจัดสัมมนาเรื่อง
“โอกาสและความท้าทายสู่เส้นทางล้านนาลอจิสติกส์” ที่จ.เชียง
ราย          โดยมีผู้ประกอบการลอจิสติกส์ใน    8 จังหวัดภาคเหนือ
สมาชิกหอการค้าเชียงราย หน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมสัมมนา และ

ยังมีตัวแทนจากบริษัทเดอะห้าวหงลอจิสติกส์กรุ๊ป จำกัดมณฑล
ยูนนานประเทศจีนเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย
            นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการสำนักงานคณะ
ก.ก. พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ    (สภาพัฒน์์) นายอุทัต
สุวทย์ศักดานนท์ ประธานกรรมการบริษัทนิ่มซีเส็งขนส่ง (1988)
จำกัด          ได้บรรยายสภาพการพัฒนาลอจิสติกส์ทางเศรษฐกิจ
และธุรกิจที่เกี่ยวข้องของไทย    นายจาง    เจิ้นฮุย กรรมการผู้จัด
การใหญ่บริษัทเดอะห้าวหงลอจิสติกส์กรุ๊ป          จำกัด    ยูนนาน
ได้ขึ้นกล่าวในที่ประชุม    โดยได้กล่าวถึงการพัฒนากิจการลอจิส-
ติกส์ยูนนาน       และการเตรียมงานที่มีประสิทธิผลอย่างมากของ
บริษัทห้าวหงลอจิสติกส์เพื่อผลักดันการพัฒนาลอจิสติกส์และ
การค้าระหว่างประเทศทั้งสองหลังการเปิดใช้ทางด่วนคุนหมิง
-กรุงเทพฯ ในอนาคต
         ภายหลังการประชุม บริษัทห้าวหงลอจิสติกส์ยูนนานได้
ร่วมหารือกับเพื่อนร่วมอาชีพลอจิสติกส์ของไทย    เช่น บริษัท
นิ่มซีเส็งขนส่ง (1988) จำกัด ฝ่ายลอจิสติกส์ของบริษัท CTL
ประเทศไทย เพื่อแสวงหาลู่ทางการร่วมมือด้านกิจการลอจิส-
ติกส์และการพัฒนาฐานลอจิสติกส์ระหว่างจีน-ไทย      โดยจะ
พยายามให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมภายในปีนี้

“ไทย-ยูนนาน” ความร่วมมือ
ที่เติมเต็มซึ่งกันและกัน

     “คณะทำงานไทย-ยูนนาน” เป็นกลไกความร่วมมือระหว่าง
กระทรวงการต่างประเทศ     ซึ่งดูแลภาพรวมความสัมพันธ์ไทย
-จีน และสำนักงานการต่างประเทศมณฑลยูนนาน       โดยมุ่ง-
หมายที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์และการไปมาหาสู่ระหว่างกลุ่ม
8 จังหวัดทางภาคเหนือตอนบนของไทยกับมณฑลยูนนาน
         “คณะทำงานไทย-ยูนนาน” มีอายุ 2 ปีกว่าแล้ว โดยก่อ
ตั้งมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546   มีความคืบหน้าของการดำเนิน
งานมาโดยตลอด    การประชุมครั้งที่สองที่เพิ่งจัดไปเมื่อเดือน
กุมภาพันธ์ 2549 ที่จังหวัดเชียงรายนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความ
ร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ
ประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะใน 8 จังหวัดภาคเหนือและประชา
ชนชาวยูนนาน ซึ่งความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายได้มีผลงานที่
เป็นแก่นสารดังนี้
                  ด้านการค้า จะมีการจัดตั้งสภาธุรกิจไทยภาคเหนือ
-ยูนนาน จะตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการค้า      ตั้งศูนย์กระ-
จายสินค้าของไทยที่นครคุนหมิงและเชียงรุ่ง และจีนก็จะมาจัด

ตั้งศูนย์กระจายสินค้าทางตอนเหนือของไทยเช่นกัน
         ด้านการท่องเที่ยว จะร่วมกันประชาสัมพันธ์เส้นทางคม-
นาคมทางบกจากคุนหมิงถึงกรุงเทพฯ โดยมีทั้งเส้นทางที่ผ่าน
ประเทศลาวและประเทศพม่า รวมทั้งเส้นทางเดินเรือทางแม่น้ำ
โขง เพื่อส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวทั้งทางบกและทางน้ำ
ร่วมกัน
       ด้านสังคมและวัฒนธรรม ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะให้
มีความสัมพันธ์ฉันบ้านพี่ี่เมืองน้องในรูปแบบใหม่   คือระหว่าง
กลุ่มจังหวัดล้านนาทั้ง 8 จังหวัดกับยูนนาน และจะส่งเสริมให้
มีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง       ซึ่งรวมถึงความร่วมมือด้าน
การศึกษา       การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การวิจัยด้านการ
เกษตรและป่าไม้ และการป้องกันบำบัดโรคพืชและสัตว์ด้วย
      เป้าหมายสูงสุดของ “คณะทำงานไทย-ยูนนาน” ที่ทั้งสอง
ฝ่ายจะร่วมกันผลักดันก็คือ    การทำให้ความร่วมมือทุกด้านดัง
กล่าวมีผลเป็นรูปธรรม    มีการติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอและต่อ-
เนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนของทั้งสองฝ่าย