แหวน
คำว่าแหวนในภาษาไทยหมายถึงเครื่องประดับสำหรับสวม
นิ้ว แต่ในภาษาไทลื้อ แหวนคือกำไลมือ ดูแล้วเหมือนเป็นเรื่อง
แปลกที่เครื่องประดับชื่อเดียวกันแต่คนไทยและคนไทลื้อมีนิยาม
ที่แตกต่างกัน แต่เมื่อสืบสาวต้นตอของคำว่าแหวน ปรากฏว่า
แหวนมาจากคำจีน ปท ภาษาจีนกลาง ปัจจุบันออกเสียงว่าฮ๋วาน
ภาษาจีนโบราณออกเสียงว่าฝาน ภาษาจีนแคะออกเสียงว่า
“ฝ่าน” ภาษาจีนกลางตุ้งออกเสียงว่าหว่าน ซึ่งใกล้เคียงกับ
แหวนมาก ในภาษาจีน ปท (ฮ๋วานหรือฝาน) เป็นเครื่องประดับ
ลักษณะห่วงกลมซึ่งรวมทั้งแหวนสวมนิ้วมือ ตุ้มหู กำไลข้อมือ
กำไลแขนช่วงบน และกำไลข้อเท้า ดั้นนั้น กรณีที่แหวนใน
ภาษาไทยและไทลื้อมีนิยามต่างกันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะ
นิยามทั้งสองล้วนรวมอยู่ในนิยามเดิมของแหวนหรือ ปท (ฮ๋วาน)
ในภาษาจีนโบราณ
ว่าว
ว่าวเป็นเครื่องเล่นมีเชือกสำหรับชักให้ลอยตามลมที่มีอยู่
ในทั่วโลก แต่คำว่าว่าว ในภาษาไท-ไทยมาจากคำจีน ที่ออก
เสียงว่าย่าวคำนี้เดิมทีหมายถึงเหยี่ยวต่อมานำมาใช้เรียกว่าว
ว่าวมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานในประเทศจีน จดหมาย
เหตุจีนระบุว่า ฮ่องเต้ฮั่นหยิ่นตี้สมัยห้าราชวงศ์ช่วงคริสต์
ศตวรรษที่ 10 ได้ร่วมกับปัญญาชนชื่อหลี่แยะ เลียนแบบ
ลักษณะการบินว่อนของเหยี่ยว คิดประดิษฐ์ว่าวเป็นของเล่นใน
ราชวัง โดยเรียกว่าเหยี่ยวกระดาษ (ึฝ๐ฮ) หรือลูกเหยี่ยว (๐ฮืำ)
และคำว่าเหยี่ยว (๐ฮ) ที่ภาษาจีนออกเสียงว่าย่าวนั้น
เป็นต้นตอของคำว่าว่าวในภาษาไทย ปัจจุบัน เมืองจีนเรียกว่าว
ว่าเฟิงเจิง (ท็๓) ซึ่งหมายถึงเครื่องสายลม เพราะต่อมามีการ
เอาขลุ่ยไม่ไผ่ไปติดบนตัวว่าว เมื่อขลุ่ยถูกลมเป่าก็เกิดเสียง
เหมือนดีดเครื่องสาย เลยได้ชื่อว่าเครื่องสายลมหรือเฟิงเจิง