บทให้สัมภาษณ์พิเศษ
ของนายพัชรดิษฐ์ สินสวัสดิ์
นายด่านศุลกากรเชียงแสน
นิตยสารแม่น้ำโขงมากับเรือสินค้าจากท่าเรือกวานเล่ย
ของจีน ร่องตามแม่น้ำโขงลงมาถึงท่าเรือเชียงแสนช่วงกลาง
เดือนของทุกเดือน นายพัชรดิษฐ์ สินสวัสดิ์ นายด่านศุลกากร
เชียงแสนจะเป็นเจ้าหน้าที่ไทยคนแรกที่อ่านนิตยสารเล่มนี้
และอนุมัติให้ผ่านด่านตามระเบียบศุลกากรเพื่อนำเข้าสู่
ประเทศไทย
ตัวแทนของนิตยสารแม่น้ำโขงประจำกรุงเทพฯ มีโอกาส
พบสนทนากับนายพัชรดิษฐ์ สินสวัสดิ์ นายด่านศุลกากรเชียง
แสนที่กรุงเทพฯ จึงถือโอกาสขอสัมภาษณ์นายด่านพัชรดิษฐ์
สินสวัสดิ์
นายพัชรดิษฐ์ สินสวัสดิ์กล่าวชมนิตยสารแม่น้ำโขงที่พิมพ์
เป็นภาษาไทยและมีบทคัดย่อภาษาจีนว่า เป็นส่ิงพิมพ์ที่ส่งเสริม
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการค้า เศรษฐกิจ สังคมของจีน
และศึกษาภาษาจีนได้ด้วย นอกจากนี้ ทางด่านเชียงแสนจะ
จัดอบรมภาษาจีนคอร์สพิเศษให้กับเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรและ
ผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยเนื้อหาจะเน้นภาษา
จีนที่เกี่ยวกับระเบียบการผ่านด่าน สิทธิประโยชน์ทางศุลกากร
เป็นหลัก
นายด่านให้สัมภาษณ์ว่า สินค้าที่ไทยส่งผ่านเชียงแสนไป
จีนอันดับหนึ่งคือ ลำไยแห้ง อันดับสองคือ ยางพารา มีทั้งยาง
แผ่น ยางอัดก้อนและยางเส้น รองลงมาคือ สินแร่ (ส่วนใหญ่
เป็นแร่เหล็ก) ดีเซล น้ำมันพืช (น้ำมันปาล์ม) การเดินเรือจาก
ท่าเรือกวานเล่ยมาถึงท่าเรือเชียงแสน ใช้เวลาเพียง 8 ชั่วโมง
หรืออย่างช้า 12 ชั่วโมง ฉะนั้นทางจีนจึงส่งผักผลไม้สดมามาก
นายด่านพัชรดิษฐ์ สินสวัสดิ์เผยว่า ปัจจุบันนี้ท่าเรือ
เชียงแสนมีขนาดเล็กไป ไม่สามารถรองรับความต้องการทาง
การค้าของไทย-จีน รัฐบาลจึงมีแผนที่จะลงทุนขยายท่าเรือให้
ใหญ่ขึ้น
นายพัชรดิษฐ์ สินสวัสดิ์กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ที่เชียงแสนมี
ท่าเรือทั้งหมด 9 แห่ง ในจำนวนนี้มีท่าเรือของรัฐเพียงแห่งเดียว
เท่านั้น ซึ่งเป็นท่าเรือแบบทุ่นขึ้นลง เทียบเรือได้เพียง 4 ลำ
วันละ 8 ลำ ศุลกากรท่าเรือเชียงแสนจะขยายท่าเรือเป็นท่าเรือ
ขนาดใหญ่กินเนื้อที่ 400ไร่โดยใช้งบประมาณ 2,000ล้านบาท
ซึ่งรวมทั้งโครงการสร้างอาคารศุลกากรใหม่บนเนื้อที่ 200 ไร่
ด้วยงบประมาณทุน 300 ล้านบาทด้วย ท่าเรือใหม่จะเวนคืน
ที่ดินโดยใช้งบประมาณปี 2006 ถมดินปี 2007 และสร้างเสร็จ
ปี 2008 เทียบเรือได้ 10 ลำ อาคารด่านศุลกากรใหม่จะสร้าง
เสร็จปี 2007 เมื่อถึงเวลานั้น ท่าเรือเชียงแสนจะเป็นเป็นศูนย์
บริการแบบครบวงจรหรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า One Stop
Service Center กล่าวคือจะมีทั้ง ต.ม. ศุลกากร อ.ย. สัตวแพทย์
ประมง การตรวจพืช การตรวจสินค้าต่างประเทศของกระทรวง
พาณิชย์ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อรองรับ FTA เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน
เมื่อโครงการดังกล่าวสร้างเสร็จแล้วจะเกิดการจ้างงานจาก4
จังหวัดภาคเหนือมากขึ้นถึงหมื่นอัตรา ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหา
ความยากจนอย่างเป็นรูปธรรมตามนโยบายของรัฐบาล
นายด่านพัชรดิษฐ์ สินสวัสดิ์ยังกล่าวว่า สินค้าจีนเข้ามา
ไทยเราก็กระจายต่อ ก็เหมือนประเทศสิงคโปร์ ไทยจะเป็นศูนย์
กระจายสินค้าจีนทางบกไปอาเซียนและเอเชียใต้ ผลิตภัณฑ์กึ่ง
สำเร็จรูปก็ส่งมาแปรรูปที่ไทย ณ เขตพาณิชยกรรมที่จะสร้าง
ขึ้นที่แม่สายก็ได้ แปรรูป แล้วส่งออก โดยใช้สิทธิปลอดภาษี
นายด่านพัชรดิษฐ์สินสวัสดิ์กล่าวถึงสิทธิปลอดภาษีว่า
เขาสนับสนุนการสร้างเขตปลอดภาษีหรือนิคมปลอดภาษีสิน-
ค้าจีนที่เชียงราย โดยศุลกากรเชียงแสนจะเป็นเจ้าของเรื่อง เพื่อ
สร้างเป็นเขตพาณิชยกรรมเพื่อการท่องเที่ยว การบันเทิง โรง
แรม สินค้าปลอดภาษี การแสดงและจำหน่ายสินค้าจีน การ
บรรจุหีบห่อใหม่และการลอจิสติกส์ ฯลฯ
ธุรกิจของไทยจะสร้างศูนย์จำหน่าย
กระจายสินค้าขนาดใหญ่ที่คุนหมิง
กองการลงทุนต่างประเทศกรมพาณิชย์มณฑลยูนนาน
กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ของไทยจะเปิดศูนย์จำหน่ายและ
กระจายสินค้าไทยขนาดใหญ่ที่คุนหมิง ต่อไปนี้ชาวเมืองคุนหมิง
สามารถเลือกซื้อสินค้าไทยที่ตนเองชื่นชอบจาก “ซุปเปอร์มาร์-
เก็ตประเทศไทย” ได้แล้ว
นายพิษณุ เหรียญมหาสาร รองปลัดกระทรวงพาณิชย์
ของไทยนำคณะดูงานมายังคุนหมิง เพื่อเลือกย่านการค้าที่ดี
ที่สุดสำหรับธุรกิจของไทย และเตรียมดำเนินการเลือกทำเลที่
ตั้งของศูนย์จำหน่ายและกระจายสินค้า คณะดูงานยังได้เดิน
ทางไปสำรวจภาคสนามที่แคว้นสิบสองพันนาด้วย เพื่อเตรียม
การจัดตั้งศูนย์จำหน่ายและกระจายสินค้าแห่งที่สองหรือศูนย์
สาขาที่นั่นในอนาคต
นายพิษณุ เหรียญมหาสารกล่าวว่า ปัจจุบันนี้ การคมนาคม
ขนส่งของจีนพัฒนาอย่างรวดเร็ว จากภาคตะวันตกของจีน
สามารถเข้าสู่ภาคกลางและภาคตะวันออกของจีนได้อย่างสะ-
ดวกรวดเร็ว ดังนั้น ประเทศไทยเชื่อมั่นว่า จังหวัดเชียงรายของ
ไทยที่อยู่ใกล้กับยูนนาน สามารถพัฒนาเป็นหน้าต่างเข้าสู่จีน
ทั่วทั้งประเทศ มณฑลยูนนานซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเชียงรายก็จะ
กลายเป็นมณฑลสำคัญในการกระชับความร่วมมือระหว่าง
จีน-ไทย
ไทยเป็นประเทศที่สืบทอดการเกษตรมาแต่โบราณ ผลไม้
เครื่องเงินเสื้อผ้าฯลฯเป็นที่นิยมชมชอบของผู้บริโภคชาวจีน
จีนกับไทยจะเปิดศูนย์จำหน่ายกระจายสินค้าซึ่งกันและกันเพื่อ
เร่งพัฒนาการค้าและเศรษฐกิจระหว่างจีน-ไทย ส่งเสริมให้
ธุรกิจของทั้งสองประเทศเกิดการลงทุนซึ่งกันและกัน ประเทศ
ไทยวางแผนจะเปิดศูนย์จำหน่ายและกระจายสินค้าอีกหลายแห่ง
ในจีน โดยศูนย์สำคัญที่สุด 4 แห่งจะเปิดที่กวางตุ้ง เซี่ยงไฮ้
คุนหมิง เฉิงตู
นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ประธานหอการค้าเชียงใหม่ซึ่งนำ
คณะมาดูงานที่คุนหมิงได้กล่าวว่า “ปีนี้ ธุรกิจของไทยจะกระชับ
ความร่วมมือกับธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของยูนนาน โดย
เตรียมนำยางพารา ข้าว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ของไทยไปจำ-
หน่ายที่ยูนนาน และนำเข้ารถจักรยานไฟฟ้ากับผลิตภัณฑ์อื่น
ของยูนนาน ถ้าทุกอย่างราบรื่น นี่จะเป็นรถจักรยานไฟฟ้า
จำนวนแรกที่ประเทศไทยนำเข้าจากประเทศจีน”
หอการค้าเชียงใหม่มายูนนานครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญ 3
ประการ ได้แก่ การเข้าพบหอการค้ามณฑลยูนนาน สมาคม
ส่งเสริมการค้ามณฑลยูนนาน เทศบาลนครคุนหมิง ดำเนินการ
ติดต่อแลกเปลี่ยนกับสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ของมณฑล
ยูนนานเพื่อการร่วมมือกัน ศึกษาโอกาสทางการค้าเพื่อผลักดัน
การสร้างศูนย์จำหน่ายและกระจายสินค้าไทย
นายจาง หลี่คุน นายกสมาคมส่งเสริมการค้ามณฑลยูน-
นานได้เจรจากับนายณรงค์ดานานุวัฒน์และคณะโดยกล่าวว่า
“ปัจจุบันมีนักธุรกิจไทยจำนวนมากไปทำธุรกิจที่ภาคตะวันออก
ของจีน แต่ภาคเหนือของประเทศไทยอยู่ใกล้กับมณฑลยูนนาน
มาก จึงควรส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้ากับยูน-
นาน” นายณรงค์ ตรานุวัฒน์กล่าวว่า การมาเยือนครั้งนี้ได้พบ
หอการค้าเชียงใหม่เยือนยูนนาน
ตกลงนำเข้ารถจักรยานไฟฟ้าครั้งแรก
โอกาสทางธุรกิจเป็นอันมาก จังหวัดเชียงใหม่ให้ความสำคัญ
ในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาก ดังนั้นพวกเขาจึงสนใจ
รถจักรยานไฟฟ้ามาก และกำลังร่วมมือกับธุรกิจของมณฑล
ยูนนาน เตรียมจะนำเข้ารถจักรยานไฟฟ้ารุ่นแรก 200 กว่าคัน
|