เมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา สถาบันเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศปีเตอร์สันของสหรัฐฯ ออกรายงานระบุว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลกเป็นต้นมา เศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรปขาดแรงกระตุ้น จึงทำให้เงินหยวนมีอิทธิพลมากขึ้น จนกลายเป็นเงินตราสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออก
รายงานระบุว่า ตั้งแต่จีนเริ่มการปฏิรูปอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2010 เป็นต้นมา เงินตราที่อัตราแลกเปลี่ยนผูกกับเงินหยวนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับระหว่างปี 2005 ถึงปี 2008 ที่เริ่มการปฏิรูปอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน ขณะเดียวกัน เงินตราที่อัตราแลกเปลี่ยนผูกกับดอลลาร์สหรัฐและยูโรก็มีจำนวนลดลง
รายงานฯ ชี้ว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เงินหยวนได้กลายเป็นเงินตราสำคัญอันดับต้น แซงหน้าดอลลาร์สหรัฐ และยูโร ขณะนี้ อัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทยผูกกับตระกร้าเงินหยวนมากกว่าดอลลาร์สหรัฐฯ แล้ว
รายงานฯ ชี้ว่า การที่เงินหยวนมีอิทธิพลมากขึ้น เนื่องมาจากจีนมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้น การค้าของจีนในเอเชียตะวันออกมีสัดส่วนเพิ่มจากร้อยละ 2 เมื่อปี 1991 เป็นร้อยละ 22 ในขณะนี้