จีนปริทรรศน์: สองนักแปลจีนคว้ารางวัลสุรินทราชา
  2012-05-02 15:35:13  cri

ปกหนังสือ "ถังซําจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง"

เมื่ออาจารย์ชิว แปลออกมาแล้ว จึงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจนต้องพิมพ์ซ้ำ อีกสาเหตุหนึ่งที่หนังสือเล่มนี้ได้รับการยอมรับจากผู้อ่านก็เพราะความสามารถของผู้แปลในการถอดความที่สละสลวย แต่ยังคงอรรถรสดั้งเดิมของภาษาแบบเก่าไว้ด้วย อีกทั้งยังมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ทำคำอธิบายเพิ่มเติม จึงยิ่งทำให้เข้าใจเนื้อหาได้อย่างลึกซึ่งยิ่งขึ้น

และหมาดๆ ในปีนี้ อาจารย์ชิว ซูหลุน เพิ่งออกหนังสือแปลด้านประวัติศาสตร์เล่มใหม่ชื่อ "ลั่วหยาง สังฆารามรำลึก" เขียนโดย "หยางเสวี้ยนจือ" ซึ่งเป็นเอกสารโบราณที่สุดเกี่ยวกับพุทธศาสนาในเมืองจีน ในยุคเป่ยเว่ย ซึ่งพระพุทธศาสนารุ่งเรืองที่สุดในเมืองจีน ขนาดว่ากำแพงวัดต่างๆ ชนกันไปตลอดทั้งเมือง

หนังสือเล่มนี้ผู้แปลใช้เวลานานอย่างยิ่งในการถอดออกมาเป็นภาษาไทย เพราะมีความเก่าแก่มาก ในส่วนที่เป็นคำเก่าก็ได้มีการทำเชิงอรรถอธิบายความอย่างละเอียด แม้จะทำให้การอ่านสะดุดบ้างเล็กน้อย เพราะต้องคอยเลื่อนสายตามาอ่านคำอธิบายประกอบ แต่ก็ทำให้เข้าใจสภาพความเป็นไปของบ้านเมืองในยุคนั้นได้อย่างละเอียด

ในส่วนของการใช้ภาษา อาจารย์ชิวให้ความสำคัญอย่างมากในการเคารพกติกาภาษาของประเทศไทย เพราะเมื่อมีการกำหนดการถอดภาษาจีนเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการออก ก็ได้เปลี่ยนการสะกดทั้งเล่มที่เคยถอดแบบเดิมทั้งหมดมาเป็นแบบที่ราชบัณฑิตยสถานของไทยกำหนด แม้จะเป็นการเสียเวลา แต่ก็เป็นการเคารพเจ้าของภาษา ผู้แปลจึงไม่ลังเลที่จะทำอย่างละเอียด

อาจารย์ชิว ซูหลุน ระบุไว้ในคำนำหนังสือเล่มนี้ว่า "ลั่วหยาง สังฆารามรำลึก เป็นหนังสือเก่าแก่มากเล่มหนึ่งของจีน สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในช่วงหลัง ค.ศ. 543 สืบมาถึงปัจจุบันก็ประมาณ 1470 ปีเศษ เป็นหนังสือที่แนะนำสังฆารามต่างๆ และเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาในจีนยุคเป่ย์เว่ย์ โดยประมวลเอาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การเมือง การปกครอง และชีวิตของผู้คนในยุคนั้นไว้ในเล่มด้วย ช่วยให้ชนรุ่นหลังได้รู้เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ ขนบธรรมเนียมประเพณี การก่อสร้างวัด การวางผังเมือง ภูมิศาสตร์และตำนานเล่าขานต่างๆ ของบ้านเมืองในยุคนั้นเป็นอย่างดี จึงเป็นหนังสือที่มีคุณค่ายิ่งในการสอบสวนข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ในยุคนั้น อีกทั้งผู้แต่งสามารถรจนาเรื่องราวต่างๆ ให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์เพลิดเพลินและสะเทือนในได้ดั่งอ่านวรรณคดี นับเป็นหนังสือโบราณที่ดีเด่นเล่มหนึ่ง"

ปกหนังสือ "ลั่วหยาง สังฆารามรำลึก"

นอกจากนี้ในส่วนของภาพประกอบ ซึ่งแน่นอนว่าในต้นฉบับโบราณย่อมไม่มีอยู่แล้ว แต่ในฉบับแปลนี้ ผู้แปลได้สรรหาภาพของห้องสมุดจีนที่หายากหลายภาพมาประกอบ รวมทั้งแผนที่ของเมืองลั่วหยางในสมัยที่เรื่องนี้ถูกประพันธ์ขึ้นด้วย ภาพมาประกอบนี้พิมพ์สี่สีอย่างดี ทำให้สามารถเข้าใจเรื่องได้ง่ายยิ่งขึ้น

หนังสือทั้งสองเล่มนี้ทำให้เห็นทั้งความเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในเมืองจีนและความสนใจส่วนตัวของผู้แปลเองที่ใฝ่ในธรรมะและประวัติศาสตร์พุทธศาสนา และที่สำคัญเห็นถึงความพันธะกรณีทางการศึกษาที่ต้องการให้คนไทยได้ทราบความเป็นไปของจีนในยุคโบราณผ่านการถ่ายทอดสู่ภาษาไทยที่ชัดเจน

นี่คือคุณูปการของท่านอาจารย์ชาวจีนทั้งสองที่มีต่อภาษาไทยและคนไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่คณะกรรมการของรางวัล "สุรินทราชา" ซึ่งมอบให้นักแปลและล่าม เล็งเห็นความสามารถและผลงานที่อาจารย์ชาวจีนทั้งสองท่านมอบให้แก่วงการศึกษาและประวัติศาสตร์ของไทย

พัลลภ สามสี

อ้างอิง http://th.wikipedia.org ยาสุรินทราชา_(นกยูง วิเศษกุล)


1 2 3
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040