ปกิณกะการค้นคว้าเรื่องไท-ไทยตอนที่ 28
เงือกเป็นชื่อเรียกจรเข้แต่เดิมของภาษาจีน
                                                   ยรรยง จิระนคร

   ชื่่อสัตว์บ้าน สัตว์ป่าในภาษาไท-ไทยและภาษาจีนที่มีเสียง
พ้องหรือคล้ายกันนั้น มีอยู่ไม้น้อย   ดั่งเช่น ไก่ งัว เงือก เงี้ยว
นกจอก ช้าง ม้า แมว เยือง แรด หงษ์     ห่าน เหยี่ยว ฯลฯ ผู้
เขียนขอยกมาอธิบายในชื่อของสัตว์บางชนิดที่มีนัยยะด้านการ
ศึกษาค้นคว้า
      เงือก
       คนไทย-ไทมีนิทานเกี่ยวกับนางเงือก ผีเงือก ซึ่งเป็นสัตว์
เทพนิยามที่ไม่มีตัวตนในโลก   แต่ความจริง เงือกก็หมายถึงงู
ใหญ่ในน้ำ คำว่าเงือกมาจากคำจีน ๖๙ ภาษาจีนกลางปัจจุบัน
ออกเสียงว่า “เอ้อ”   แต่สำเนียงจีนโบราณออกเสียงว่า “เงิก”
ซึ่ง ก็คือจรเข้
         เป็นเรื่องน่าแปลกที่ว่า เดิมทีคำไท-ไทยมีคำ “เงือก” ที่
หมายถึงจรเข้อยู่แล้ว       แต่เหตุไฉนทั้งคำไทยและคำไทยไม่ใช้
“เงือก” มาเรียกจรเข้ (หากใช้คำว่าจรเข้หรือตะเข้) แล้วให้นิยาม
ว่า “เงือก”       คือสัตว์น้ำในเทพนิยายที่ท่อนบนเป็นคน ท่อนล่าง
เป็นปลาเล่า ?
       ผู้เขียนเชื่อว่า คนไท-ไทยมีต้นกำเนิดที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง
ตอนล่าง ที่นั่นเคยเป็นแหล่งจรเข้     ปัจจุบันก็ยังมีตะโขงอาศัย
อยู่ ชาวพื้นเมืองที่เรียกว่าไป๋เยว่เมื่อ     2-3 พันปีก่อนมีประเพณี
สักหมึก โดยเชื่อว่า จะทำให้จรเข้หรือเงือกเงี้ยวหลงเชื่อว่าเป็น
สัตว์พวกเดียวกัน     จะได้ไม่ทำร้ายเมื่อลงไปทำกิจกรรมในแม่

น้ำ ดังนั้น     มีความเป็นไปได้ว่า   บรรพบุรุษของคนไท-ไทยเมื่อ
ตอนที่ยังอยู่ ณ           ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตอนล่างนั้น ก็เคยเรียก
จรเข้ว่า “เงือก”         แต่เมื่ออพยพออกจากภูมิลำเนาเดิมลงสู่ภาค
ใต้ประเทศจีนที่ไม่มีจรเข้แล้ว       (บริเวณดังกล่างยังห่างไกลกับ
ซัวเถาแถบชายทะเลที่มีจรเข้     คำมูลไทเดิมไม่มีคำว่าทะเลหรือ
สมุทรก็พิศูจน์ว่าบรรพบุรุษคนไทยอยู่ไกลจากย่านทะเล)       เมื่อ
นานเข้า นิยามของคำว่า “เงือก” ก็เกิดผันแปร โดยกลายเป็นสัตว์
ประหลาดในเทพนิยายซึ่งไม่เกี่ยวกับจรเข้           ด้วยเหตุนี้ ต่อมา
เมื่อคนไท-ไทยลงใต้เข้าสู่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางและแหลมทอง
ที่เร่ิมมีจรเข้แล้ว     ก็เป็นไปได้ว่า คนไท-ไทยไม่ทราบว่าบรรพ-
บุรุษของตนเคยเรียกจรเข้ว่า    “เงือก” เลยทำให้เกิดชื่อ “จรเข้”
หรือ “ตะเข้” ขึ้น