ศิลปะมัดย้อมของชนชาติไป๋ตาลี

                 ผ้ามัดย้อมชนชาติไป๋ตาลีเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม
พื้นบ้านที่สืบทอดกันมาของประชาชนชนชาติไป๋ ซึ่งเป็นทั้งศิลปะ
และวัฒนธรรม       โดยลวดลายจะประกอบด้วยลายเส้นเรขาคณิต
ที่เป็นระเบียบ     รูปลักษณ์อยู่ในกรอบที่เข้มงวดอิ่มเอิบ โดยส่วน
ใหญ่มาจากรูปสัตว์           พืชและภาพลายผ้าผู้ดีและราชสำนักใน
ราชวงศ์ต่างๆ ซึ่งซึมซาบไปด้วยกลิ่นอายชีวิต
            กระบวนการมัดย้อมจะแบ่งเป็นมัดลายและแช่ย้อมสอง
ขั้นตอน      การมัดลายนั้นใช้วิธีมัดลายในฝีมือเย็บด้วยเข็มเป็น
หลักและการเย็บผสมการมัด       มีลักษณะเนื้อหาหลากหลาย
แสดงลวดลายอย่างประณีต และเปลี่ยนแปลงผันแปรแบบร้อย
แปดพันเก้า      การแช่ย้อมสีใช้กรรมวิธีหัตถกรรมแช่ย้อมอย่าง
ซ้ำซ้อน   จนกลายเป็นลวดลายที่มีลายดอกไม้เป็นหลัก และมี
ลายวนหลายชั้น   หนักแน่นและบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผ้ามัดย้อมของ
ชนชาติไป๋ต้าหล่ีใช้ผ้าฝ้าย ผ้าไหมผ้าป่านเป็นวัตถุดิบปัจจุบัน
นี้     นอกจากได้รักษาลายดอกขาวบนพื้นสีครามที่สืบทอดมา
แต่เดิมแล้ว       ยังได้พัฒนาผ้ามัดย้อมหลากสีชนิดใหม่ ผลิต-

ภัณฑ์ผ้ามัดย้อมมีนับร้อยชนิด ซึ่งมีผ้ากันเปื้อน ผู้ปูโต๊ะ ผ้าม่าน
ประตู ผ้าปูเตียง เสื้อผ้าเป็นต้น
          ผ้ามัดย้อมชนชาติไป๋ตาลีอาศัยลวดลายพื้นบ้าน ใช้กรรม
วิธีมัดย้อมแต่ดั้งเดิม         และการแปรรูปทางศิลปะ   ผลิตเป็น
ศิลปหัตถกรรมที่มีลักษณะเป็นศิลปะ    มีคุณค่าในลักษณะแบบ
นามธรรมและใช้งานได้จริง กระบวนการที่เย็บ มัดด้วยมือ ย้อม
ซ้ำซ้อนด้วยสีย้อมจากพืช    ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่เพียงแต่มีสีสัน
สดใส สีไม่ลอกตลอดไปเท่านั้น หากยังปราศจากผลข้างเคียง
ที่อันตรายต่อร่างกายด้วย เพราะใช้สีธรรมชาติโดยไม่ใช้สีย้อม
เคมี