จีนปริทรรศน์: สึนามิออนไลน์...ร้านหนังสือพากันล้มหายตายจาก
  2012-02-22 15:00:03  cri

นอกจากนี้ตั้งแต่ประเทศไทยมีงานสัปดาห์หนังสือเพิ่มเป็น 3 ครั้งต่อปี อันประกอบด้วย งานสัปดาห์หนังสือ งานมหกรรมหนังสือ งานมหกรรมหนังสือเด็ก ไม่นับรวมงานขายลดราคาประจำปีของสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ อีกหลายแห่ง ซึ่งล้วนทำให้ระบบการจำหน่ายหนังสือปกติได้รับผลกระทบอย่างช่วยไม่ได้

แน่นอนว่าในแง่หนึ่งเป็นการส่งเสริมการอ่านจริง แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นการทำลายช่องทางจำหน่ายหนังสือในท้องถิ่น และร้านเล็กๆ ที่พึ่งส่วนต่างของราคาหน้าปกจากการจำหน่ายราคาเต็ม

นี่เป็นเพียงระลอกคลื่นสองระลอกแรกที่สาดซัดร้านหนังสือเล็กๆ ทั่วประเทศ

ระลอกต่อมาที่กำลังโหมซัดในปัจจุบันคือ คลื่นสึนามิของระบบการจำหน่ายหนังสือทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งหนักกว่าการขายหนังสือลดราคาประจำปีเสียอีก เพราะว่าการขายในอินเตอร์เน็ตสามารถลดราคาได้ตลอดทั้งปี และลดได้มากกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องเช่าตึกทำร้านค้า ไม่ต้องจ้างพนักงานขาย(นั่นหมายความว่า ไม่ต้องขึ้นเงินเดือน ไม่ต้องจ่ายสวัสดิการสังคม ไม่ต้องกลัวว่าใครจะลาป่วย หรือลาออก) ไม่ต้องตกแต่งร้าน จะมีก็แต่การตกแต่งหน้าเว็บเพจ และค่าออกแบบระบบเล็กน้อย ไม่ต้องมีสต๊อกหรือคลังหนังสือ ไม่ต้องเสียค่าโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ แถมยังสามารถส่งหนังสือไปยังแห่งหนไหนก็ได้ในประเทศผ่านระบบไปรษณีย์ ซึ่งเป็นไปตามอุดมคติของร้านหนังสือออนไลน์ที่ว่า "ร้านหนังสือในบ้านคุณ"

ดังนั้นนอกจากพายุคราวนี้จะกวาดร้านหนังสือเล็กๆ ให้กระเด็นไปสุดขอบบรรณพิภพแล้ว ร้านหนังสือที่มีหลายสาขาหรือเชนสโตร์ทั้งหลายก็ถูกผลกระทบตามไปด้วยอย่างหลีกเลี้ยงไม่ได้ แต่มีอยู่รอดได้ก็เพียงแต่ร้านที่มีเว็บไซต์จำหน่ายหนังสือออนไลน์ของตัวเอง และยังต้องเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์เองด้วยเท่านั้น

ทว่าในประเทศที่มีการจำหน่ายหนังสือต่อปีไม่มาก และมีคนอ่านหนังสือเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์ของจำนวนประชากรอย่างประเทศไทย ดูเหมือนว่ากระบวนการของผลกระทบนี้จะเกิดขึ้นช้าและไม่รุนแรงมากนัก

แต่สำหรับประเทศจีน ซึ่งเน้นพัฒนาประเทศตั้งแต่สถาปนาสาธารณรัฐเป็นต้นมาด้วยการส่งเสริมการอ่านและพัฒนาความรู้ จะถูกผลกระทบนี้อย่างรุนแรง

ล่าสุดนั้นร้าน "โอทู" หรือในภาษาจีนเรียกว่า "กวางเหอจั้วย่ง" หนังสือที่มีชื่อเสียงและมีหลายสขาทั่วประเทศ ก็ออกมาประกาศปิดกิจการทั้งหมดเป็นการชั่วคราว

ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นที่ร้อนแรงขึ้นในสังคมจีน เพราะคนที่เป็นนักอ่านในเมืองจีนต่างรู้จักร้านหนังสือ "โอทู" เป็นอย่างดี ในฐานะร้านหนังสือเอกชนที่มีรูปแบบการตกแต่งร้านเปี่ยมเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ชั้นและพื้นไม้เป็นสีน้ำตาล จัดหมวดหมู่หนังสือหาง่าย มีพื้นที่สำหรับนั่งอ่านพิจารณาหนังสือก่อนตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้ยังมีของชำร่วยน่ารักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน เช่นที่ใส่ดินสอ ที่ทับกระดาษ โคมไฟ ที่เหลาดินสอ สมุดบันทึก ซีดีเพลง ที่คั่นหนังสือ แผ่นรองเม้าท์ ที่เขี่ยบุหรี่ หรือตุ๊กตาเล็กๆ ที่เหมาะกับการตั้งประดับโต๊ะหนังสือ ฯลฯ คือนอกจากเป็นร้านหนังสือแล้ว ยังสามารถเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจได้ด้วย สำหรับคนที่รักร้านหนังสือ

ร้านโอทู เปิดครั้งแรกในปี 1995 ที่เมืองเซี่ยะเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน และมีทั้งหมด 31 สาขาทั่วประเทศก่อนหน้านี้ถือได้ว่าเป็นร้านหนังสือที่ประสบความสำเร็จและครองใจนักอ่านทั่วประเทศ แต่ในช่วง 4 ปีหลังมานี้ทางร้านมีปัญหามาโดยตลอด และได้พยายามแก้ไขทุกวิถีทางแล้วก็ไม่สามารถฉุดยอดขายที่ตกต่ำให้ขึ้นมาลืมตาอ้าปากได้อีก จึงประกาศกิจการในที่สุด ซึ่งได้สร้างความเสียใจให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่เคยเป็นลูกค้า

ซึ่งปรากฎการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับร้านโอทูเพียงเท่านั้น แต่ร้านหนังสือขนาดเล็กกว่า 10,000 แห่งได้ทอยยปิดตัวเองมาตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา ซึ่งเจ้าของร้านหนังสือใหญ่ที่เซี่ยงไฮ้ระบุว่าจากนี้ไปอีก 5 ปี ยังจะมีร้านอีกมากมายต้องเลือนหายไปจากความทรงจำ จะเหลือก็แต่เพียงร้านหนังสือที่รัฐเป็นเจ้าของ และร้านหนังสือออนไลน์ เพราะในประเทศจีนนั้นมีร้านหนังสือเพียง 3 แบบ และแบบที่ตกอยู่ในภาวะคับขันที่สุดก็คือ "ร้านหนังสือเอกชน" ทั้งหลายนั่นเอง

สาเหตุเพราะร้านหนังสือของทางการหรือที่เป็นของรัฐจ่ายคาเช่าสถานที่เปิดร้านน้อยกว่าปกติ ได้รับคืนภาษี และยังมีรายได้มหาศาลจากการจำหน่ายหนังสือแบบเรียนอีกด้วย

ส่วนร้านจำหน่ายทางอินเตอร์เน็ตคือสาเหตุหลักที่ทำให้ร้านหนังสือทั้งหลายถูกกลืนหายไปดังที่ได้ระบุไปก่อหน้านี้ในเรื่องความได้เปรียบต่างๆ ซึ่งอาวุธลับที่สำคัญที่สุดของร้านออนไลน์ก็คือ "การลดราคา" ยิ่งใครที่ต้องการเข้ามามีส่วนแบ่งการตลาดจากเจ้าเดิมที่เคยครองอยู่แล้ว ยิ่งต้องยอมเสี่ยงลดให้มากกว่าร้านเดิม อย่างล่าสุดเว็บไซต์ "ซุนหนิง" (Suning.com) ที่เป็นหน้าใหม่ก็ใช้อาวุธลดแบบแทบฆ่าตัวตาย เพื่อแย่งลูกค้าจากเจ้าเก่าอย่าง "ตังตัง" (Dangdang.com) "อะเมซอน" (Amazon.cn) และ"360บาย" (360buy.com) ทำให้สามเว็บไซต์ดังกล่าวจำเป็นต้องกระโจนเข้าสู่สงครามราคานี้ด้วยอย่างไม่ค่อยเต็มใจนัก

งานนี้ผู้ที่เดือนร้อนก็คือร้านเอกชนทั้งหลายที่ขาดนโยบายพิเศษสนับสนุน จึงโดนสึนามิออนไลน์ซัดกลืนหายไปเป็นจำนวนมาก

1 2 3
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
文化
v ชายปักกิ่งเปิดห้องสมุดให้บริการฟรีกว่า 12 ปี 2011-11-23 15:34:46
v เปิดตลาดนัดจำหน่ายหนังสือฤดูใบไม้ร่วง ณ กรุงปักกิ่งปี 2011 2011-09-09 16:48:59
v ปิดฉากงานมหกรรมหนังสือนานาชาติกรุงปักกิ่งครั้งที่ 18 2011-09-05 13:45:37
v เปิดงานมหกรรมหนังสือนานาชาติปักกิ่ง ครั้งที่ 18 2011-09-01 11:27:10
v ไทยจะออกบูธในงานมหกรรมหนังสือนานาชาติ ปักกิ่ง 2011-07-19 17:51:19
v ศาสตรจารย์มณฑลเจียงซู"ปล่อยหนังสือ"โดยหวังว่าจะมีคนอ่านหนังสือมากยิ่งขึ้น 2011-03-10 11:14:07
v หอจิตรกรรมและห้องสมุดของจีนจะเปิดบริการฟรี 2011-02-11 15:01:21
v ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จีนได้แปลและพิมพ์จำหน่ายหนังสือจีนกว่า 2,000 ชื่อเรื่อง 2010-11-18 12:48:46
v จัดงานมหกรรมหนังสือนานาชาติกรุงปักกิ่งครั้งที่ 17 2010-06-25 11:37:22
泰国
v จีนปริทรรศน์:บุปผาแห่งนานกิง---สงคราม ความรัก ความเสียสละ สูตรสำเร็จภาพยนตร์ในสไตล์ของจาง อี้โหมว 2012-02-15 16:32:23
v จีนปริทรรศน์:"รถติด" ปัญหาของเมืองหลวง 2012-02-08 15:43:13
v จีนปริทรรศน์: กัว จิ้งหมิง ก้าวใหม่ของนักเขียนหนุ่มหน้าหวานจีน 2012-02-01 18:49:59
v จีนปริทรรศน์:นักเขียนหนุ่มผู้อหังการ  ผู้สร้างปฏิกิริยาใหม่ในสังคมจีน 2012-01-25 16:52:02
v จีนปริทรรศน์:ซูโจวหน้าหนาว เหงาไม่หยอก (2) 2012-01-18 16:23:51
v จีนปริทรรศน์:ซูโจวหน้าหนาว เหงาไม่หยอก (1) 2012-01-11 18:14:46
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040