จีนปริทรรศน์: ส่องสองสภาฯ จีน ผ่านมุมมองของอัครราชทูตไทย ประจำประเทศจีน
  2012-03-14 17:03:57  cri

นอกจากนั้นแล้วในช่วงหลังของคำกล่าวของนายกเวิน เจียเป่า ก็ได้วางแนวนโยบายสำคัญๆ ของการส่งต่อให้กับผู้บริหารชุดใหม่ที่กำลังจะเข้ามาสู่อำนาจในปีถัดไปได้อย่างชัดเจนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความต่อเนื่องในการรักษาภาพรวมทางเศรษฐกิจให้มีความมั่นคง มีเสถียรภาพอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังประสบปัญหา ทางจีนเองก็มีการปรับลดอัตราการเติบโตลงเล็กน้อย โดยตั้งเป้าไว้ที่ 7.5 เปอร์เซนต์ โดยไม่เน้นภาคการส่งออก แต่มาเน้นความต้องการภายในประเทศ เพื่อให้เป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะว่าความต้องการภายในของประเทศจะเป็นพลังขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอย่างมั่นคง และยาวนาน ซึ่งเรื่องนี้นับว่าเป็นสัญญาณ?ี่ดีสำหรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจมหภาคของประเทศจีน

นอกจากนั้นยังเน้นย้ำในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะมีส่วนสำคัญในการขยายหรือว่าผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศจีนเติบโตไปอย่างมั่นคงในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพลังงานสะอาดต่างๆ เทคโนโลยีเกี่ยวกับโซล่าเซลล์ พลังงานลม หรือพลงงานน้ำ นอกจากนั้นยังเน้นในเรื่องของระบบการพัฒนาบุคคลากรให้มีศักยภาพมากขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันในตลาดโลก

นายกเวินยังเน้นในเรื่องของการเปิดเศรษฐกิจจีน หรือเปิดประเทศจีนให้สัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในโลกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวนโยบายหลักที่จีนยึดถือและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับประชาคมโลกที่ได้รับทราบเช่นนี้

ท่านคิดว่า รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลปีนี้ มีอะไรแตกต่างจากปีที่ผ่านมาไหม

- แน่นอนครับ การรายงานผลการดำเนินงานในปีนี้แตกต่างจากปีที่ผ่านมา อย่างน้อยสิ่งหนึ่งที่เห็นชัดก็คือว่า ปีนี้เป็นปีเริ่มต้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี ฉบับที่ 12 และปีที่ผ่านมาเป็นแผนฯ ฉบับที่ 11 ดังนั้นในฉบับที่ 12 นี้จึงมีความเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะมีเรื่องของประชาชนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการศึกษา สาธารณูปโภค การเข้าถึงแหล่งคมนาคมต่างๆ ระบบสาธารณสุขที่มีการปรับปรุงเพื่อให้ประชาชนทั่วทั้งประเทศจีนมีความกินดีอยู่ดีเพิ่มมากขึ้น

สำหรับตัวท่านเอง มีข้อเสนออะไรใหม่ๆ ต่อรัฐบาลจีนบ้างไหม

แน่นอนครับ ประเทศจีนเป็นประเทศใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตต่อเนื่องกันมาหลายสิบปี จนปัจจุบันมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก ดังนั้นขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ทุกแห่งทั่วโลกจึงมองมาทางเอเชีย โดยเฉพาะมองมาที่จีนเป็นเป้าหมายแน่นอน เพราะว่าประเทศจีนมีการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างเด่นชัดและต่อเนื่อง นอกจากนั้นแล้ว ประเทศจีนเองก็มีปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ประเทศไทยต้องการสัมพันธ์กับจีน ก็คงเป็นเรื่องของความต้องการให้ประเทศฬนภูมิภาคนี้มีความเจริญรุ่งเรือง และก้าวไปด้วยกันอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งไม่ใช่เพียงประเทศไทยแห่งเดียว แต่รวมทั้งอาเซียนและภูมิภาคเอเชียตะวันออก นับว่าช่วงนี้กำลังเป็นศตวรรษของเอเชียตะวันออก ดังนั้นประเทศไทยเองจึงต้องการเห็นภูมิภาคนี้เจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง มีเสถียรภาพ รวมทั้งมีความสงบ และมีความมั่นคง

รายงานผลการดำเนินงานของนายกรัฐมนตรีจีน ได้พูดถึงความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ ท่านมีความเห็นอย่างไรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างจีนกับไทย และเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน

- ในแง่ของการเปิดเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน นั้นนับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากดังจะเห็นได้ว่าในรอบปีที่ผ่านมาการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนเติบโตในอัตราที่น่าพอใจและเกินคาดหมายเสียด้วยซ้ำเพราะเติบโตถึงร้อยละ 38 ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงมาก ส่วนสำหรับประเทศไทย หลังจากที่เปิดเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนขึ้นมา มีการส่งออกมายังจีนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันถือได้ว่าเป็นประเทศที่ไทยส่งออกมาเป็นอันดับหนึ่งของโลก ในด้านของการนำเข้า ไทยก็นำเข้าจากจีนมากเป็นอันดับ 2 ซึ่งเขตการค้าเสรีมีส่วนช่วยอย่างมากต่อการค้าระหว่างจีนและประเทศในภูมิภาคนี้ ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีและมีกลไกที่เหมาะสม รวมทั้งผู้นำจีนเองก็ต้องการในการค้าตรงนี้ขยายตัวมากยิ่งขึ้นดังจะเห็นได้จากการเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมาก็ได้เน้นย้ำว่า หากมีปัญหาอะไรในด้านการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม ก็สามารถหยิบยกขึ้นมาแจ้งฝ่ายจีนได้ทันที และฝ่ายจีนเองก็พร้อมที่จะแก้ไขและอำนวยความสะดวกให้การค้าไทย-จีนสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งต้องขอบคุณรัฐบาลจีนเป็นอย่างมาก

ด้านการลงทุนในต่างประเทศของจีน เห็นได้ชัดจากสถิติว่าเพิ่มในเรื่องนี้มากขึ้น แทนที่จะเป็นประเทศที่รับการลงทุนเพียงอย่างเดียวเหมือนเมื่อช่วงที่เพิ่งเปิดประเทศ ดังนั้นประเทศอาเซียนเองก็มุ่งหวังในความสัมพันธ์ด้านการลงทุน และพร้อมที่จะเป็นแหล่งลงทุนของจีน แต่ขณะเดียวกันทั้งอาเซียนและไทยก็ต้องการการร่วมมือหรือการลงทุนในภาคที่สอดคล้องกับสิ่งที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะมุ่งหวังการลงทุนที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หรือว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญในการลงทุนปัจจุบัน ซึ่งก็หวังว่านักลงทุนจากจีนที่มีเทคโนโลยีที่ดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และเลือกใช้พลังงานสะอาด สิ่งเหล่านี้ประเทศไทยเราต้องการและต้อนรับอย่างมาก

ในฐานะที่มีหน้าที่ดูแลงานในด้านวัฒนธรรมและการศึกษาของสถานทูต อยากทราบว่ามีความเห็นหรือข้อเสนออะไรบ้างต่อรัฐบาลจีนในการเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและกระชับความร่วมมือกับต่างประเทศในด้านนี้ โดยเฉพาะกับจีน

- มีหลายท่านกล่าวไว้ว่า วัฒนธรรมเป็นจิตวิญญาณของชาติ เพราะฉะนั้นการที่เราจะเข้าใจประเทศหรือชนชาติอีกชนชาติหนึ่ง ดังนั้นเราจึงต้องเข้าใจวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ด้วย ดังนั้นการที่จีนมีฐานะและการพัฒนามาจนถึงปัจจุบันนี้ มีการเปิดประเทศเพื่อคบค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก วัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ในการที่จะให้นานาประเทศเข้าใจจีน ขณะเดียวกันประเทศและประชาชนจีนก็จำเป็นที่จะต้องเข้าใจต่างประเทศและชนชาติอื่นๆ ทั่วโลกด้วยเหมือนกัน ดังนั้นวัฒนธรรมจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารให้ชาวจีนและต่างชาติมีความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการอยู่ร่วมกันได้อย่างเข้าอกเข้าใจกัน และจะก่อให้เกิดสันติภาพขึ้นในภูมิภาคนี้อย่างยั่งยืน ดังนั้นประเทศไทยเราเองก็อยากจะเห็นประเทศจีนเปิดรับวัฒนธรรมไทยมากยิ่งขึ้น เพื่อจะให้ชาวจีนได้เข้าใจวัฒนธรรมไทย แนวความคิดของประชาชนคนไทย เพื่อที่คนจีนและคนไทยจะได้อยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ อย่างญาติมิตร เหมือนดังคำกล่าวที่ว่า "จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน"

เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งในด้านวัฒนธรรม คือการจัดการกับความหลากทางเชื้อชาติ จีนเป็นประเทศขนาดใหญ่จึงไม่แปลกที่จะมีหลากเผ่าชนอยู่รวมกัน แต่ก็สามารถสร้างความปรองดองได้ ท่านคิดว่าแบบแผนของจีนในด้านนี้ พอจะเป็นแบบอย่างให้ประเทศอื่นที่มีความหลากหลายเหมือนกันนำไปใช้ได้ไหมครับ อย่างการมีสมาชิกสภาผู้แทนประชาชนมาจากทุกชนเผ่า

- ประเด็นนี้เห็นด้วยเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะประเทศจีนมีความโดดเด่นมากในการอยู่ร่วมกันของคนหลากหลายชนชาติเผ่าพันธุ์ ซึ่งเท่าที่ประจำการอยู่ในจีนมา 2 ปี ก็ได้เห็นว่ารัฐบาลจีนให้ความเคารพชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่อยู่ร่วมกัน มีการให้เกียรติ รวมถึงมีการรับฟังความคิดเห็นต่างๆ อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ดังจะเห็นได้จากการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาบริเวณที่ชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอย่างโดดเด่น ซึ่งเรื่องนี้ผมคิดว่าสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศต่างๆ ที่จะนำไปใช้ ว่าการที่เราเข้าใจ รับฟัง และให้เกียรติกับชนกลุ่มน้อยที่อยู่ร่วมกัน ว่าจะทำให้เขามีความเข้าใจ เป็นมิตร และมีความเป็นอยู่ที่มีความสุขขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับชนเผ่าอื่นๆ ได้อย่างสุขสงบ

นี่คือความคิดเห็นของนักการทูตไทยผู้เป็นสักขีพยานว่า ปัจจุบันนี้ประเทศจีนได้รับความสนใจจากทั่วโลกอย่างไรบ้าง รวมถึงจากคนไทยด้วย เพราะท่านบอกว่าในรอบ 2 ปีที่ท่านประจำการอยู่นี้ ประเทศจีนได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางของบรรดาข้าราชการของไทยในการมาดูงาน อบรม และศึกษาต่ออย่างมาก นักการเมืองต่างๆ ก็สร้างความสัมพันธ์อันดีกับจีนอย่างต่อเนื่อง นักธุรกิจไทยก็เข้าออกประเทศจีนมากยิ่งขึ้น เพราะมีเขตการค้าที่เชื่อมต่อและการคมนามาถึงกันอย่างสะดวกสบาย ซึ่งในอนาคตยังจะมีการเชื่อมสัมพันธ์กันในด้านอื่นลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปเรื่อย

ยิ่งความสัมพันธ์ต่อกันดีมากขึ้นเพียงไร การประชุมทั้งสองสภาฯ ก็จะถูกติดตามจับตามมองมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นช่องทางสำคัญที่จะทำให้สามารถเข้าใจนโยบายสำคัญต่างๆ ของรัฐบาลจีนได้อย่างชัดแจ้ง รวมถึงท่าทีของจีนที่มีต่อการต่างประเทศด้วย ทำให้สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ระหว่างกันได้อย่างลงตัว

พัลลภ สามสี


1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040