ของขวัญอีกอย่างหนึ่งคือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นถนนวงแหวน สะพานลอย ทางลอดถนนสำหรับคนเดินเท้า ทางลาดสำหรับคนพิการ สายรถไฟใต้ดินที่เพิ่มมากขึ้น รถประจำทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลานออกกำลังกายหน้าอาคารที่พัก สวนสาธารณะที่เพิ่มความเขียวขจีให้กับตัวเมือง และสนามกีฬาซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการแข่งขันกีฬา
สำหรับสนามกีฬานั้น นอกจากวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการสร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันและใช้งานอื่นๆ หลังจากเกมส์กีฬาจบลงแล้ว ยังเน้นการออกแบบที่แสดงเอกลักษณ์ของประเทศเจ้าภาพด้วย ยิ่งในโลกสมัยใหม่ ไม่เพียงแต่ออกแบบให้อลังการยิ่งใหญ่เพียงเท่านั้น หากแต่ต้องมีความทันสมัยอีกด้วย เพื่อให้กลายเป็นสัญลัษณ์ใหม่ของเมืองที่สร้างทรงจำที่ดีให้ผู้ที่มาร่วมงาน ทั้งนักกีฬา ทีมงาน และผู้ชม รวมถึงจะกลายเป็นความภูมิใจของเมืองและคนทั่วทั้งประเทศด้วย
The Chinese National Aquatics Center หรือ The Water Cube ในโอลิมปิก ปักกิ่ง 2008
ออกแบบโดยบริษัทพีทีดับบลิว อาคิเทคส์
อย่างสนามกีฬารังนัก "เหนี่ยวเฉา" ซึ่งเป็นสนามกีฬาหลักที่ใช้ในพิธีเปิด-ปิด และการแข่งขันรายการสำคัญ แม้โอลิมปิกปักกิ่งจะผ่านมาแล้ว 4 ปีเต็ม แต่ก็ยังมีผู้คนแวะเวียนมาเยี่ยมชมไม่ขาดสาย ทั้งชาวจีนจากแห่งหนต่างๆ และนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกต่างก็อยากจะได้เห็นและสัมผัสกับสนามกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ยิ่งใหญ่และประสบความสำเร็จมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์กีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ
ดังนั้นในการออกแบบสนามกีฬาหลักของโอลิมปิกในแต่ละครั้งจึงมีการลงทุนมหาศาล พร้อมเชิญนักออกแบบที่มีชื่อเสียงของโลกมาร่วมกันออกแบบ
ดังนั้นเนื่องในโอกาส "โอลิมปิก ลอนดอน 2012" ที่ขับเคี่ยวกันไปหมาดๆ นี้ จึงอยากที่จะกล่าวถึงและนำภาพของสนามกีฬาหลักในโอลิมปิกครั้งต่างๆ ที่ผ่านมามาประมวลดูว่าสนามกีฬาแห่งไหนบ้างที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนทั่วโลกกันบ้าง
Olympic Sports Complex ในโอลิมปิก เอเธนส์ 2004 ออกแบบโดยซานติเอโก คาลาทราวา
สนามกีฬาโอลิมปิกที่กรุงมอลทีออล ประเทศแคนาดา สร้างเมื่อปี 1976